เม็ก กรู๊ฟ คัปปลิ้ง

สำหรับ “ข้อต่อท่อเหล็ก” ท่อเหล็กบุพีอี (PE-Lined Steel Pipe)  
เหมาะสำหรับงานระบบประปา ระบบดับเพลิง  และระบบ HVAC
ติดต่อสอบถาม โทร. 0 2634 9981-4  

mech Grooved Couplingเม็ก ข้อต่อกรู๊ฟ คับปลิ้ง สำหรับ “ข้อต่อท่อเหล็ก” ท่อเหล็กบุพีอี (PE-Lined Steel Pipe) และงานระบบประปา, ระบบดับเพลิง

วิธีการติดตั้ง กรู๊ฟ คัปปลิ้ง
(Grooved Coupling)

การติดตั้งระบบกรู๊ฟคัปปลิ้งแบบละเอียด
ติดตั้งง่าย เพียง 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ …

ขั้นตอนการเตรียมท่อกรู๊ฟ

1. ขั้นตอนการเตรียมท่อ
(การลบคมปลายท่อ
และการกดร่องกรู๊ฟ)

วิธีการเตรียมท่อก่อนนำไปกดร่องกรู๊ฟ
ใช้ตะไบเหล็ก ตะไบหน้าตัดท่อต้องได้ฉาก 90 องศา เพื่อตะไบลบคมขอบรอบนอกปลายท่อเหล็กให้เรียบร้อย
บริเวณปลายท่อจะต้องมีพื้นผิวเรียบ ไม่ขรุขระ เพราะจะส่งผลต่อการรั่วซึมได้

จากนั้น นำท่อไปกรู๊ฟด้วยเครื่องกรู๊ฟท่อเหล็ก เมื่อกดร่องกรู๊ฟเสร็จเรียบร้อย

ให้ทำการตรวจสอบร่องกรู๊ฟ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการกดร่องกรู๊ฟ จะต้องใช้สายวัดร่องกรู๊ฟ Tac-M วัดขนาดร่องกรู๊ฟของปลายท่อ เพื่อให้ขนาดร่องกรู๊ฟเป็นไปตามตามตารางค่าข้อมูลทางเทคนิค (Technical Data) ที่กำหนดไว้เท่านั้น

*ข้อแนะนำ
ควรวัดค่าให้ได้ตามมาตรฐาน
ตารางการกดร่องกรู๊ฟ
(Rolled Grooved Data) เท่านั้น
ย่อ ขยายเนื้อหา
ทาน้ำยาหล่อลื่น ขอบรอบนอกตัวประเก็นยาง

2. ทาน้ำยาหล่อลื่นขอบรอบนอกตัวปะเก็นยาง

การทาน้ำยาหล่อลื่น (Mech Pipe Joint Lubricant) จะช่วยให้สวมปะเก็นยางง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ปะเก็นยางสวมเข้ารูปตัวเรือนได้ง่าย ซึ่งการสวมปะเก็นอยางที่ถูกต้องจะช่วยยืดอายุการใช้งานของยางให้ยาวนานขึ้น


วิธีการทาน้ำยาหล่อลื่น
ใช้แปรงเพื่อทาน้ำยาหล่อลื่น (Mech Pipe Joint Lubricant) ขอบรอบนอกตัวปะเก็นยาง (*ไม่ต้องทาด้านในขอบปะเก็นยาง)

ย่อ ขยายเนื้อหา
สวมใส่ปะเก็นยาง EPDM เข้ากับปลายท่อ

3. สวมใส่ปะเก็นยาง

วิธีการสวมใส่ปะเก็นยาง สวมปะเก็นยางเข้ากับปลายท่อที่เตรียมไว้ โดยจะต้องระมัดระวังไม่ให้ลิ้นของปะเก็นยางออกมาจากบริเวณปลายท่อ จัดปะเก็นยางให้เรียบร้อย

หลังจากนั้นเตรียมท่อกรู๊ฟอีกด้านนำมาสวมใส่ปะเก็นยาง ประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อเชื่อมชนเป็นท่อเดียวกัน

หลังจากการประกอบท่อทั้งสองเส้นเข้าด้วยกันเรียบร้อยแล้ว ให้จัดตำแหน่งให้ตรงแล้ว ให้ทำการเลื่อนปะเก็นยางมาที่จุดกึ่งกลางระหว่างท่อทั้งสองเส้น โดยตำแหน่งของปะเก็นยางไม่ควรวางเลยไปอยู่บนร่องกรู๊ฟของปลายท่อฝั่งใดฝั่งหนึ่ง

ย่อ ขยายเนื้อหา
สวมใส่ตัวเรือน (Housing) ครอบปะเก็นยาง

4. สวมใส่ตัวเรือน (Housing)

การสวมใส่ตัวเรือน (Housing) ทำการคลายเกลียวนัทของตัวเรือน (Housing) ด้านหนึ่งออก ในขณะที่อีกด้านให้ทำการถอดนัทและโบลต์ออกจากกัน นำตัวเรือน (Housing) ด้านหนึ่งวางคลอบลงบนประเก็ณยาง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวเรือน (Housing) นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับร่องกรู๊ฟของปลายท่อทั้งสองด้านพอดี จากนั้นจึงค่อยประกอบตัวเรือน (Housing) อีกด้านตามลำดับแล้วประกอบนอตทั้งสองด้านกลับเข้าไปที่เดิม

โดยให้สังเกตปะเก็นยางจะต้องไม่ถูกทับ บีบอัด จากตัวเรือนทั้ง 2 ฝั่ง

*ข้อแนะนำ การติดตั้งข้อต่อคัปปลิ้งแบบยึดแน่น
(Rigid Coupling) ให้สังเกตระหว่างฟันของตัวเรือน (Housing) จะต้องสวมให้เข้าล็อคกันพอดี จะต้องไม่หันด้านฟันชนกัน

ย่อ ขยายเนื้อหา
การขันนอต (Nuts and Bolts) สลับซ้าย-ขวา ไปเรื่อยๆ ให้เท่ากันอย่างสมดุล ตามตารางค่าการขันทอร์ค (Torque)

5. การขันนอต
(Nuts and Bolts)

วิธีการขันนอต ให้ขันสลับซ้าย-ขวา ไปเรื่อยๆ ให้เท่ากันอย่างสมดุล

*ข้อแนะนำ
ควรขันตามตารางค่าการขันทอร์ค (Torque) “Specified Bolt Torque”
ให้ขันตามค่าทอร์คที่กำหนดเท่านั้น
ซึ่งเป็นค่าแรงบิดที่เหมาะสมทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ย่อ ขยายเนื้อหา
รูปตัวอย่างการติดตั้งกรู๊ฟคัปปลิ้งที่เสร็จสมบูรณ์

6. รูปตัวอย่างการติดตั้ง
ที่หน้าไซท์งานก่อสร้าง

ให้ทำการตรวจสอบการติดตั้งให้เรียบร้อย

วิธีการติดตั้ง กรู๊ฟ คัปปลิ้ง (Grooved Coupling)

การติดตั้งระบบกรู๊ฟคัปปลิ้งแบบละเอียด ติดตั้งง่าย เพียง 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ …

ขั้นตอนการเตรียมท่อกรู๊ฟ

1. ขั้นตอนการเตรียมท่อ
(การลบคมปลายท่อ
และการกดร่องกรู๊ฟ)

วิธีการเตรียมท่อก่อนนำไปกดร่องกรู๊ฟ
ใช้ตะไบเหล็ก ตะไบหน้าตัดท่อต้องได้ฉาก 90 องศา เพื่อตะไบลบคมขอบรอบนอกปลายท่อเหล็กให้เรียบร้อย
บริเวณปลายท่อจะต้องมีพื้นผิวเรียบ ไม่ขรุขระ เพราะจะส่งผลต่อการรั่วซึมได้

จากนั้น นำท่อไปกรู๊ฟด้วยเครื่องกรู๊ฟท่อเหล็ก เมื่อกดร่องกรู๊ฟเสร็จเรียบร้อย

ให้ทำการตรวจสอบร่องกรู๊ฟ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการกดร่องกรู๊ฟ จะต้องใช้สายวัดร่องกรู๊ฟ Tac-M วัดขนาดร่องกรู๊ฟของปลายท่อ เพื่อให้ขนาดร่องกรู๊ฟเป็นไปตามตามตารางค่าข้อมูลทางเทคนิค (Technical Data) ที่กำหนดไว้เท่านั้น

*ข้อแนะนำ
ควรวัดค่าให้ได้ตามมาตรฐาน
ตารางการกดร่องกรู๊ฟ
(Rolled Grooved Data) เท่านั้น
ย่อ ขยายเนื้อหา
ทาน้ำยาหล่อลื่น ขอบรอบนอกตัวประเก็นยาง

2. ทาน้ำยาหล่อลื่นขอบรอบนอกตัวปะเก็นยาง


การทาน้ำยาหล่อลื่น (Mech Pipe Joint Lubricant) จะช่วยให้สวมปะเก็นยางง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ปะเก็นยางสวมเข้ารูปตัวเรือนได้ง่าย ซึ่งการสวมปะเก็นอยางที่ถูกต้องจะช่วยยืดอายุการใช้งานของยางให้ยาวนานขึ้น


วิธีการทาน้ำยาหล่อลื่น
ใช้แปรงเพื่อทาน้ำยาหล่อลื่น (Mech Pipe Joint Lubricant) ขอบรอบนอกตัวปะเก็นยาง (*ไม่ต้องทาด้านในขอบปะเก็นยาง)

ย่อ ขยายเนื้อหา
สวมใส่ปะเก็นยาง EPDM เข้ากับปลายท่อ

3. สวมใส่ปะเก็นยาง



วิธีการสวมใส่ปะเก็นยาง สวมปะเก็นยางเข้ากับปลายท่อที่เตรียมไว้ โดยจะต้องระมัดระวังไม่ให้ลิ้นของปะเก็นยางออกมาจากบริเวณปลายท่อ จัดปะเก็นยางให้เรียบร้อย

หลังจากนั้นเตรียมท่อกรู๊ฟอีกด้านนำมาสวมใส่ปะเก็นยาง ประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อเชื่อมชนเป็นท่อเดียวกัน

หลังจากการประกอบท่อทั้งสองเส้นเข้าด้วยกันเรียบร้อยแล้ว ให้จัดตำแหน่งให้ตรงแล้ว ให้ทำการเลื่อนปะเก็นยางมาที่จุดกึ่งกลางระหว่างท่อทั้งสองเส้น โดยตำแหน่งของปะเก็นยางไม่ควรวางเลยไปอยู่บนร่องกรู๊ฟของปลายท่อฝั่งใดฝั่งหนึ่ง

ย่อ ขยายเนื้อหา
สวมใส่ตัวเรือน (Housing) ครอบปะเก็นยาง

4. สวมใส่ตัวเรือน (Housing)

การสวมใส่ตัวเรือน (Housing) ทำการคลายเกลียวนัทของตัวเรือน (Housing) ด้านหนึ่งออก ในขณะที่อีกด้านให้ทำการถอดนัทและโบลต์ออกจากกัน นำตัวเรือน (Housing) ด้านหนึ่งวางคลอบลงบนประเก็ณยาง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวเรือน (Housing) นั้นอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับร่องกรู๊ฟของปลายท่อทั้งสองด้านพอดี จากนั้นจึงค่อยประกอบตัวเรือน (Housing) อีกด้านตามลำดับแล้วประกอบนอตทั้งสองด้านกลับเข้าไปที่เดิม

โดยให้สังเกตปะเก็นยางจะต้องไม่ถูกทับ บีบอัด จากตัวเรือนทั้ง 2 ฝั่ง

*ข้อแนะนำ การติดตั้งข้อต่อคัปปลิ้งแบบยึดแน่น
(Rigid Coupling) ให้สังเกตระหว่างฟันของตัวเรือน (Housing) จะต้องสวมให้เข้าล็อคกันพอดี จะต้องไม่หันด้านฟันชนกัน

ย่อ ขยายเนื้อหา
การขันนอต (Nuts and Bolts) สลับซ้าย-ขวา ไปเรื่อยๆ ให้เท่ากันอย่างสมดุล ตามตารางค่าการขันทอร์ค (Torque)

5. การขันนอต
(Nuts and Bolts)

วิธีการขันนอต ให้ขันสลับซ้าย-ขวา ไปเรื่อยๆ ให้เท่ากันอย่างสมดุล

*ข้อแนะนำ
ควรขันตามตารางค่าการขันทอร์ค (Torque) “Specified Bolt Torque”
ให้ขันตามค่าทอร์คที่กำหนดเท่านั้น
ซึ่งเป็นค่าแรงบิดที่เหมาะสมทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

รูปตัวอย่างการติดตั้งกรู๊ฟคัปปลิ้งที่เสร็จสมบูรณ์

6. รูปตัวอย่างการติดตั้ง
ที่หน้าไซท์งานก่อสร้าง

ให้ทำการตรวจสอบการติดตั้งให้เรียบร้อย

ตารางค่าแรงบิด (Torque)

Specified Bolt Torque

ตารางค่าขัน Torque หน้าจานแปลนกรู๊ฟ (Grooved Flange)

ชนิดของข้อต่อ กรู๊ฟ คัปปลิ้ง

 แบบยึดแน่น (Rigid Coupling) และ แบบยืดหยุ่น (Flexible Coupling)

ข้อแตกต่างระหว่าง
แบบยึดแน่น (Rigid Coupling) และ
แบบยืดหยุ่น (Flexible Coupling)

ข้อสังเกต ความแตกต่างระหว่างการติดตั้งข้อต่อกรู๊ฟ คัปปลิ้ง 

ข้อต่อคัปปลิ้งแบบยึดแน่น
(Rigid Coupling)

จะต้องเหลือช่องว่างระหว่างฐานรองรูโบลท์เล็กน้อยทั้งสองด้านเท่าๆ กัน 

ข้อต่อคัปปลิ้งแบบยืดหยุ่น
(Flexible Coupling) 

จะต้องติดตั้งตัวเรือน (Housing) ให้ฐานรองรูโบลท์ทั้งสองด้านชิดติดกัน และจะต้องไม่เห็นปะเก็นยางเมื่อมองจากภายนอก 

ตารางค่าแรงบิด (Torque)

Specified Bolt Torque

ข้อควรระวัง
ต้องใช้แรงบิดที่เหมาะสมของสลักเกลียวเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามที่กำหนด

  • การขันโบลต์มากเกินไปอาจส่งผลให้โบลต์ และ/หรือ ตัวผลิตภัณฑ์ เสียหาย ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อต่อท่อแยกออกจากกัน
  • การขันโบลต์ ที่น้อยเกินไป อาจส่งผลให้ความสามารถในการกักเก็บแรงดันลดลง ความสามารถในการรับน้ำหนักตรงรอยต่อของท่อลดลง รูปแบบ defect และข้อผิดพลาด  ต่างๆอาจส่งผลเสียอย่างมากทั้งทรัพย์สิน และบุคคุลที่เกี่ยวข้อง และ อาจรวมถึงการได้รับบาดเจ็บสาหัส

Caution
Proper Torquing of bolts is required to obtain specified performance.

  • Over torquing the bolts may result in damage to the bolt and / or casting which could result in pipe joint separation.
  • Under torquing the bolts may result in lower pressure retention capabilities, lower bend load capabilities, joint leakage and pipe joint separation. Pipe joint separation may result in significant property damage and serious injury.

ข้อควรระวัง
ต้องใช้แรงบิดที่เหมาะสมของสลักเกลียวเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามที่กำหนด

  • การขันโบลต์มากเกินไปอาจส่งผลให้โบลต์ และ/หรือ ตัวผลิตภัณฑ์ เสียหาย ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อต่อท่อแยกออกจากกัน
  • การขันโบลต์ ที่น้อยเกินไป อาจส่งผลให้ความสามารถในการกักเก็บแรงดันลดลง ความสามารถในการรับน้ำหนักตรงรอยต่อของท่อลดลง รูปแบบ defect และข้อผิดพลาด  ต่างๆอาจส่งผลเสียอย่างมากทั้งทรัพย์สิน และบุคคุลที่เกี่ยวข้อง และ อาจรวมถึงการได้รับบาดเจ็บสาหัส

Caution
Proper Torquing of bolts is required to obtain specified performance.

  • Over torquing the bolts may result in damage to the bolt and / or casting which could result in pipe joint separation.
  • Under torquing the bolts may result in lower pressure retention capabilities, lower bend load capabilities, joint leakage and pipe joint separation. Pipe joint separation may result in significant property damage and serious injury.